Business Highlight Online : 8 เมษายน 2568 ที่พรรคเพื่อไทย - “ทักษิณ” มอง “ทรัมป์” ขึ้นกำแพงภาษีไทยใช้สูตรเดียว หวังเรียกเจรจาการค้า เชื่อทีมไทยแลนด์พูดคุยคืบหน้าดี ยอมรับเศรษฐกิจแย่กว่าแต่ก่อน แต่เอาอยู่นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงการให้คำแนะนำด้านเศรษฐกิจกับ นายกรัฐมนตรี อย่างไรบ้าง ว่า วันนี้เศรษฐกิจ หนักกว่าเดิมมากและเจอปัญหาซ้ำเติมหลายอย่าง แต่ก็น่าจะเอาอยู่ ในหลายมิติอาจไม่เลวร้ายเหมือนสมัยก่อน เพราะเมื่อก่อนเศรษฐกิจเหมือนบ้านหลังหนึ่ง อดีตเหมือนหลังคาพัง ซ่อมง่าย แต่ถ้าปล่อยทิ้งไว้นานฐานรากก็แย่ เก่าเสาผุพังไปหมด ดังนั้นต้องใช้วิธีการซ่อมที่ยากขึ้น และใช้เวลามากกว่าเดิม แต่ทั้งนี้ก็มีเทคโนโลยีใหม่ๆ การซ่อมแซมก็น่าจะดีขึ้นส่วนกรณีการขึ้นกำแพงภาษีของสหรัฐฯ นายทักษิณ มองว่า เป็นลักษณะใช้สูตรเดียวเลย เอาสูตรของที่ส่งไทยได้ดุลการค้าเท่าไหร่ และทางสหรัฐขายให้ไทยได้เท่าไหร่ คิดเป็นเปอร์เซ็นต์แล้วหารสอง เช่น ทางกัมพูชา ขายของให้สหรัฐได้น้อย แทบไม่ได้ซื้อของจากสหรัฐเลย ทำให้สหรัฐคิดเป็น 90% แล้วหารสอง จึงเป็นลักษณะการใช้สูตรเดียว แต่สหรัฐทำเช่นนี้ เพราะว่าต้องการให้แต่ละประเทศเข้าไปเจรจา ซึ่งรัฐบาลไทยก็ได้มีการติดต่อแล้ว และนายกรัฐมนตรีก็ได้มีการประชุมทีมเศรษฐกิจ ซึ่งมีความชัดเจนแล้วเช่นกันว่าจะส่งตัวแทนไปเจรจา ก็น่าจะคืบหน้าได้ด้วยดีนายทักษิณ ยังกล่าวว่า ส่วนตัวไม่มีอะไรที่จะแนะนำ เนื่องจากระบบภาษีและระบบกีดกันทางการค้า...
Business Highlight Online : 7 เมษายน 2568 ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ SCB EIC วิเคราะห์ ทรัมป์ขึ้นภาษีนำเข้าสหรัฐฯ ครั้งใหญ่ ไทยโดนหนัก 36% และเสี่ยงต่อผลกระทบรุนแรงจากการค้าโลกที่จะหดตัวลง เตรียมลดคาดการณ์​จีดีพีไทย แนะรัฐเร่งเจรจาSCB EIC มองทรัมป์ประกาศขึ้นภาษีนำเข้าสหรัฐฯ ชุดใหญ่เมื่อ 2 เม.ย. อาจทำให้อัตราภาษีนำเข้าที่แท้จริง (Effective Tariff Rate) ของสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นถึง 18 – 22% ส่งผลกดดันเศรษฐกิจสหรัฐฯ และการค้าโลกสูง จะส่งผลกดดันให้อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในปี 68 ปรับลดลงจากประมาณการเดิมที่ 2.4% อย่างมีนัยสำคัญไทยจัดอยู่ในกลุ่มประเทศที่สหรัฐฯ ขึ้นภาษีนี้สูงถึง 36% เป็นอันดับ 20 จาก 185 ประเทศคู่ค้าสหรัฐฯ ทั่วโลก และเป็นอันดับ 9 ของเอเชีย ไทยโดนขึ้นภาษีนำเข้าสูงกว่าค่าเฉลี่ยภาษีนำเข้าที่สหรัฐฯ ขึ้นกับทั่วโลก (16%) ค่าเฉลี่ยของประเทศเอเชีย (21%) เป็นผลจากการที่สหรัฐฯ ขาดดุลการค้าไทยสูงSCB EIC ประเมินเศรษฐกิจไทยจะได้รับผลกระทบมาก...
Business Highlight Online : 6 เมษายน 2568 สมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ ไม่เห็นด้วยกับแนวคิดการเปิดนำเข้าสินค้าเนื้อหมูและเครื่องใน เพื่อลดการเกินดุลการค้าสหรัฐ ย้ำจะกระทบอุตสาหกรรมสุกรทั้งประเทศ ทำเกษตรกรไทยหมดอาชีพ และบั่นทอนความมั่นคงทางอาหารนายสิทธิพันธ์ ธนาเกียรติภิญโญ นายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ กล่าวถึงกรณีที่ปรึกษารัฐมนตรี สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และคณะเจรจาของรัฐบาลไทย มีแนวคิดนำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และเนื้อหมูจากสหรัฐ เพื่อลดดุลการค้า หลังสหรัฐประกาศเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจากไทย 37% โดยระบุว่า สมาคมฯ เห็นด้วยกับการนำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ถั่วเหลือง กากถั่วเหลือง ข้าวสาลี และวัตถุดิบอาหารสัตว์อื่นๆ ซึ่งประเทศไทยขาดแคลน และจำเป็นต้องใช้เพิ่มมากขึ้นเมื่ออุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์เติบโตขึ้น แต่ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่งกับข้อเสนอในการนำเข้าเนื้อหมู ซึ่งเป็นการทำลายอุตสาหกรรมหมูของไทย เพราะทำให้เกษตรกรไทยไม่สามารถแข่งขันได้และจำต้องเลิกอาชีพในที่สุด เมื่อนั้นจะไม่มีความต้องการใช้ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์อีกต่อไป เกษตรกรพืชไร่จะหมดอาชีพ และในที่สุดก็จะไม่มีการนำเข้าข้าวโพดจากสหรัฐอีก“การเปิดรับเนื้อหมูนำเข้าจากสหรัฐ ไม่เพียงกระทบอย่างรุนแรงต่ออาชีพเกษตรกรตลอดห่วงโซ่การผลิต ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ แต่ยังกระทบสุขอนามัยของผู้บริโภค ตลอดจนทำลายอุตสาหกรรมการผลิตหมูของไทยทั้งระบบ” นายสิทธิพันธ์ กล่าวทั้งนี้ ระบบการผลิตหมูในประเทศมีห่วงโซ่การผลิตที่ยาวมาก ตั้งแต่ต้นน้ำ-ปลายน้ำ เช่น เกษตรกรผู้ปลูกพืชไร่ พ่อค้าพืชไร่ ผู้ผลิตอาหารสัตว์ เกษตรกรผู้เลี้ยง โรงชำแหละ เขียง ผู้ค้าในตลาดสด รวมถึงผู้ประกอบการแปรรูปหมู การนำเข้าหมูจะกระทบทุกขั้นตอนในห่วงโซ่การผลิต ทำลายระบบการผลิตเนื้อหมูทั้งหมด ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของความมั่นคงทางอาหารของประเทศ ดังเช่นกรณีฟิลิปปินส์ที่ปล่อยให้มีการนำเข้าเนื้อหมู ทำให้เกษตรกรในประเทศไม่มีแรงจูงใจในการเลี้ยง...
Business Highlight Online : 5 เมษายน 2568 สสว.ประเมินมาตรการขึ้นกำแพงภาษีของสหรัฐกระทบส่งออกของเอสเอ็มอี ปี 2568 จะลดลง 1,128 ล้านเหรียญสหรัฐ ฉุดให้จีดีพี เอสเอ็มอี ปี 2568 ลดลง 0.2% จากที่ สสว. ประมาณการการขยายตัวไว้ที่ 3.5% ลุ้นการเจรจาต่อรองของรัฐบาลไทย รวมทั้งมาตรการตอบโต้ของประเทศคู่ค้าอื่น ๆเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2025 ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ได้ประกาศขึ้นภาษีนำเข้าเพิ่มเติมที่กระทบกับหลายประเทศรวมถึงไทยที่จะถูกเก็บอัตราษีสูงถึง 37% มีผลตั้งแต่วันที่ 9 เมษายน 2025 เป็นต้นไป จากข้อมูลการส่งออกปี 2024 พบว่า SME พึ่งพาตลาดสหรัฐสูงถึง 20 % ด้วยมูลค่า 7,634 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือเอสเอ็มอีมีส่วนแบ่งของการส่งออกไทยไปสหรัฐที่ 14 % โดยสหรัฐเป็นตลาดส่งออกของเอสเอ็มอีลำดับที่ 2 รองจากจีน ขณะที่เอสเอ็มอีนำเข้าสินค้าจากสหรัฐ 2,563 ล้านเหรียญ ทำให้เอสเอ็มอีเกินดุล 5,070...
Business Highlight Online : 4 เมษายน 2568 คลังหารือทุกฝ่ายถกรับมือภาษีนำเข้า ”ทรัมป์“ เตรียมเพิ่มยอดนำเข้าสินค้าจำเป็น ผ่อนปรนอุปสรรคกีดกันสหรัฐ คาด 2 สัปดาห์ นำทีมเยือนสหรัฐวานนี้ 3 เม.ย. นายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า การประชุมร่วมกับหน่วยงานด้านเศรษฐกิจ ทั้งกระทรวงการคลัง ธปท., บีโอไอ สภาอุตสาหกรรมฯ สภาหอการค้าฯ หลังจากไทยถูกเก็บภาษีนำเข้าจากสหรัฐร้อยละ 36-37 หากไม่มีมาตรการใดหรือรัฐบาลนิ่งเฉย จะกระทบต่อจีดีพีของไทยร้อยละ 1 ในปีนี้ เมื่อการจัดเก็บภาษีนำเข้าของสหรัฐออกมาสูงเกินคาด รัฐบาลจึงเร่งหาแนวทางมาลดผลกระทบดังกล่าว หลังจากได้เตรียมการับมือมาระยะหนึ่งแล้ว จึงได้รายงานผลหารือครั้งให้กับนายกรัฐมนตรีรับทราบปัจจุบันไทยนำเข้าสินค้าจากสหรัฐ 40,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 1.4 ล้านล้านบาท แต่ไทยส่งออกสินค้าไปสหรัฐ 60,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ทำให้มียอดเกินดุลการค้า 20,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ที่ประชุมเห็นชอบร่วมกันหาแนวทางนำเข้าสินค้าที่จำเป็น เพื่อลดยอดเกินดุลการค้าให้เหมาะสม ผ่านหลายมาตรการ เช่น การนำเข้าข้าวโพดจากสหรัฐเพิ่มเติมบางส่วน แทนนำเข้าจากประเทศอื่น เนื่องจากไทยผลิตยังไม่เพียงพอ เพื่อผลิตอาหารแปรรูปและส่งออก การแก้ไข กฎระเบียบ หรืออุปสรรคการค้าที่ไม่ใช่ภาษี...
Business Highlight Online : 4 เมษายน 2568 ธปท. เร่งประเมินผลกระทบ ต่อเศรษฐกิจไทย หลังสหรัฐใช้มาตรการขึ้นภาษีตอบโต้ไทย 37% พร้อมดูแลความผันผวนตลาดการเงิน ลดผลกระทบต่อภาคธุรกิจและเสถียรภาพระบบการเงินวานนี้ 3 เม.ย. นางสาวชญาวดี ชัยอนันต์ ผู้ช่วยผู้ว่าการสายองค์กรสัมพันธ์ และโฆษกธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า จากการที่สหรัฐฯ ได้ออกแถลงการณ์มาตรการขึ้นภาษีตอบโต้ของสหรัฐฯ (Reciprocal Tariffs) ต่อไทยที่อัตราร้อยละ 37 โดยจะมีผลตั้งแต่วันที่ 9 เมษายน 2568 นั้น เป็นอัตราที่สูงกว่าที่คาดไว้ โดยหลังแถลงการณ์ดังกล่าว ความผันผวนในตลาดการเงินปรับสูงขึ้น ส่งผลให้ราคาสินทรัพย์เสี่ยงปรับลดลง ทั้งในหลักทรัพย์และค่าเงินของกลุ่มประเทศเกิดใหม่ที่ถูกกระทบจากการประกาศขึ้นภาษี ขณะที่ราคาสินทรัพย์ปลอดภัย อาทิ ทองคำ ปรับเพิ่มขึ้น โดยช่วงปิดตลาดเมื่อวันที่ 3 เมษายน 2568 ค่าเงินบาทปรับอ่อนลง 0.28% จากวันก่อนหน้า มาอยู่ที่ 34.26 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ ส่วนอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยโดยรวมปรับลดลงประมาณ 0.05% โดยพันธบัตรระยะ 10 ปีอยู่ที่ 1.89% สำหรับความเสี่ยงด้านเครดิตของไทยสะท้อนผ่าน...
Business Highlight Online : 3 เมษายน 2568 วอชิงตัน – ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก รวมถึงประเทศที่เป็นพันธมิตรใกล้ชิดที่สุดของสหรัฐ ต่างประณามการประกาศมาตรการภาษีตอบโต้ของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ของสหรัฐ และบางประเทศประกาศแผนการรับมือ ในขณะเดียวกันก็หวังว่า รัฐบาลสหรัฐจะเปิดช่องทางสำหรับการเจรจาจีนเรียกร้องให้สหรัฐยกเลิกมาตรการภาษีล่าสุดนี้ในทันที พร้อมทั้งให้คำมั่นจะปกป้องผลประโยชน์ของประเทศ ซึ่งสุ่มเสี่ยงที่จะนำพาประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดของโลกเข้าสู่สงครามการค้าที่รุนแรงขึ้น ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่อุปทานทั่วโลกอย่างหนักนายกรัฐมนตรีแอนโทนี อัลบาเนซี ของออสเตรเลีย กล่าวว่า สิ่งที่เกิดขึ้นไม่ใช่การกระทำในฐานะเพื่อน เขากล่าวว่า การตั้งภาษีของรัฐบาลทรัมป์นั้นไม่สมเหตุสมผล และเป็นการทำลายรากฐานของความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศผู้นำประเทศญี่ปุ่น นิวซีแลนด์ ไต้หวันและเกาหลีใต้ ซึ่งเป็นประเทศที่เป็นพันธมิตรสำคัญชองสหรัฐในภูมิภาคกล่าวโจมตีการกระทำของนายทรัมป์ นายกรัฐมนตรีชิเงรุ อิชิบะ ของญี่ปุ่นกล่าวว่า ญี่ปุ่นรู้สึกผิดหวังอย่างที่สุด เขากล่าวว่า ญี่ปุ่นเคยขอให้สหรัฐยกเว้นญี่ปุ่นจากมาตรการภาษีครั้งนี้ ที่ญี่ปุ่นโดนเรียกเก็บภาษี 24 เปอร์เซ็นต์ นายฮัน ด็อค-ซู รักษาการประธานาธิบดีเกาหลีใต้กล่าวเรียกร้องให้มีการเจรจากับเจ้าหน้าที่สหรัฐ เพื่อปกป้องเศรษฐกิจเกาหลีใต้ที่พึ่งพาการส่งออกเป็นหลัก ส่วนไต้หวันกล่าวว่า มาตการภาษีของสหรัฐไม่สมเหตุสมผลและจะหารือกับรัฐบาลสหรัฐต่อไปนางอัวร์ซูลา ฟ็อน แดร์ ไลเอิน ประธานคณะกรรมาธิการยุโรป กล่าวว่า ผลที่ตามมาของมาตรการภาษีของสหรัฐครั้งนี้จะน่ากลัวสำหรับผู้คนจำนวนมากทั่วโลก เธอกล่าวว่า สหภาพยุโรปพร้อมที่จะรับมือและเตรียมชุดมาตรการเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของประเทศสมาชิกAdvertisement
Business Highlight Online : 3 เมษายน 2568 ก.พาณิชย์ตรวจสอบพบ บ.ไชน่า เรลเวย์ เกี่ยวข้อง 13 บริษัท 26 โครงการก่อสร้าง มูลค่าโครงการนับหมื่นล้านบาท โดยดีเอสไอรับคดีนี้เป็นคดีพิเศษแล้วนายพิชัย นริพทะพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมบริหารจัดการแก้ปัญหาสินค้าและธุรกิจต่างประเทศที่ฝ่าฝืนกฎหมาย ว่า เพื่อติดตามดูปัญหานอมินีและการตรวจสอบ บริษัท ไชน่า เรลเวย์ ซึ่งจากการตรวจสอบพบว่า บริษัท ไชน่า เรลเวย์ มีความเกี่ยวข้องกับ 13 บริษัท มีโครงการก่อสร้างที่ก่อสร้างไปแล้วและกำลังก่อสร้าง รวม 26 โครงการ มูลค่ารวมหลักหมื่นล้านบาท โดยจะต้องเข้าไปตรวจสอบทั้งหมด รวมทั้งบริษัท ซิน เคอ หยวน สตีล จำกัด ด้วย ซึ่งล่าสุดพบว่า บริษัท ซิน เคอ หยวน ที่ผลิตเหล็ก เอส เค วาย มีความเกี่ยวข้องกับ 24 บริษัท อย่างไรก็ตามล่าสุดทางดีเอสไอ ได้รับคดีบริษัท...
Business Highlight Online : 2 เมษายน 2568 ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB EIC) ประเมิน ณ 1 เมษายน 2568 แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นในวันที่ 28 มีนาคม 2568 มีผลกระทบเบื้องต้นต่อเศรษฐกิจไทยจำกัดประมาณ 3 หมื่นล้านบาท โดยผลกระทบจะกระจุกตัวอยู่ในภาคการท่องเที่ยว ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และธุรกิจก่อสร้างSCB EIC ระบุแม้เราจะควบคุม After shock ของเหตุการณ์แผ่นดินไหวไม่ได้ แต่นโยบายสื่อสารที่ชัดเจนจะช่วยลด After shock ทางความรู้สึกของประชาชน และช่วยลดผลกระทบต่อเศรษฐกิจที่อาจตามมาได้ จากที่ประเมินผลกระทบเบื้องต้นต่อเศรษฐกิจไทยจำกัดประมาณ 3 หมื่นล้านบาท ภาคการท่องเที่ยวจะได้รับผลกระทบค่อนข้างเร็วในระยะสั้น จากความเชื่อมั่นของนักท่องเที่ยวต่างชาติต่อสถานการณ์ความปลอดภัยในประเทศไทย หลังข่าวแผ่นดินไหวได้แพร่กระจายออกไปทั่วโลก โดยประเมินในกรณีฐานว่านักท่องเที่ยวต่างชาติจะปรับลดลง 4 แสนคน และสูญเสียรายได้จากค่าใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวต่างชาติราว 2.1 หมื่นล้านบาท ภายใต้สมมติฐานผลกระทบจะรุนแรงในเดือนเมษายน และจะใช้เวลาฟื้นตัวให้กลับมาเติบโตได้ตามปกติราว 3 เดือน คาดนักท่องเที่ยวต่างชาติในเดือนเมษายนจะลดลงราว 12%โดยการท่องเที่ยวสะท้อนจากตัวเลขการยกเลิกห้องพักในช่วง 2 วันที่ผ่านมาของสมาคมโรงแรมไทยที่มีการยกเลิกห้องแล้วประมาณ 1,100 บุกกิงทั่วประเทศ และจากข้อมูลของผู้ประกอบการโรงแรมห้องพักที่ถูกยกเลิกส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่กรุงเทพฯ...
Business Highlight Online : 1 เมษายน 2568 ทำเนียบ  – ครม.ผลักดัน “บ้านเพื่อคนไทย” นำร่องเฟสแรก 4 โครงการ สิทธิเช่า 60 ปีนางสาวศศิกานต์ วัฒนะจันทร์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรีรับทราบแนวทางดำเนินการโครงการ “บ้านเพื่อคนไทย” ตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ นำร่องระยะที่ 1 จำนวน 4 โครงการ และมอบหมายให้กระทรวงคมนาคม ดำเนินการให้ถูกต้องเป็นไปตามขั้นตอนของกฎ ระเบียบ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด พร้อมมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล กรมที่ดิน กรมโยธาธิการและผังเมือง สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) พิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปโดยพื้นที่ดำเนินโครงการดังกล่าว เป็นพื้นที่ของ รฟท. ที่มีศักยภาพสูงสุดเป็นพื้นที่นำร่อง จำนวน 4 พื้นที่ ได้แก่1) พื้นที่โครการ กม.11 ระยะ 1.1 กรุงเทพมหานคร2) พื้นที่รอบสถานีรถไฟธนบุรี (ศิริราช)...
Verified by ExactMetrics