รองประธานสภาอุตฯ เสนอค่าไฟงวด ก.ย.-ธ.ค.66 ควรลดลงกว่า 10%

107

business highlight online : 29 มิถุนายน 2566 รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ระบุ ปัจจัยบวก หนุนค่าไฟฟ้างวด 3/66 ควรลดลงกว่า 10% จากงวด 2/66

นายอิศเรศ รัตนดิลก ณ ภูเก็ต รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวว่าค่ าไฟฟ้างวด 3/66 (ก.ย.-ธ.ค.)​ ไม่ควรเกิน 4.25 บาท/หน่วย จากงวด 2/66 (พ.ค.-ส.ค.) ​ที่่ 4.70 บาท/หน่วย ด้วย 5 ปัจจัยหลัก ได้แก่ ปริมาณก๊าซจากอ่าวไทยสูงขึ้น โดยจากแหล่งเอราวัณหรือจี 1/61 ทะยอยเพิ่มจาก 200 ล้านลูกบาศก์ฟุต​ต่อ​วันเป็น 600 ล้านลูกบาศก์ฟุต​ต่อ​วันในช่วงปลายปีนี้, ปริมาณ LNG หรือก๊าซธรรมชาติเหลว นำเข้าลดลง, ราคา LNG Spot (ตลาดจร)​ ลดลงมากกว่า 30% ราคางวดใหม่ไม่เกิน 14 เหรียญสหรัฐ/ล้านบีทียู จากเดิม 20 เหรียญสหรัฐ/ล้านบีทียู , ราคาพลังงานโลก มีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่องและ หนี้ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)​ ทั้งงวดค่าไฟ Ft งวด 1/66 และงวด 2/66 ลดลงเร็วกว่าแผน  ด้วยต้นทุนจริง ของ LNG ต่ำกว่าที่เรียกเก็บ Ft (เดิมประเมินหนี้รวม กฟผ.ที่รับภาระแทนประชาชนไปก่อนราว 1.3 แสนล้านบาท)

“ปัจจัยลบของต้นทุนค่าไฟงวดใหม่มีแค่ เรื่องค่าเงินบาท ที่อ่อนค่าลง สิ่งที่ เอกชน และ ประชาชนอยากเห็นในการบริหารค่าไฟฟ้า ที่ยึดประโยชน์ของส่วนรวมเป็นที่ตั้งด้วยภาระค่า Ft เป็นระบบ Cost Plus ที่ผลักเป็นภาระของผู้บริโภค” นายอิศเรศกล่าว

ดังนั้น ภาครัฐ ในทุกระดับ ควรมีแนวทางบริหารจัดการ ดังนี้

1) ฝั่งนโยบาย ควรให้แนวทางบริหารที่เหมาะสม ในแต่ละสถานการณ์ เช่น การแก้ปัญหา Over Supply โรงไฟฟ้า ปลดล็อคด้าน Regulations โดยเฉพาะ Solar และ การเร่งจัดหา LNG ก่อนหน้าหนาวในยุโรป

2) ฝั่งสำนักงาน​คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ควรประสานผู้เกี่ยวข้องอย่างทั่วถึง และเปิดเผยข้อมูล เช่น สมมุติฐาน และ ต้นทุนต่างๆ ในการคำนวณ Ft รวมทั้งพิจารณาหาระบบ Fuel Adjustment Cost System แบบ Rolling ที่เร็วกว่ารอตามงวด 4 เดือน

3) ฝั่ง Operators (ฝ่ายปฏิบัติการ)​ ควรมีส่วนร่วมในการบริหารแบบ One Team  เพื่อช่วยแก้ปัญหาด้านพลังงาน, ค่าไฟฟ้าของประเทศ ให้ดีที่สุด รวมทั้งมีการเปิดเผยข้อมูลให้ผู้เกี่ยวข้องรับทราบตามหลักธรรมาภิบาล

Advertisement