business highlight online : เมื่อวันที่ 21 เมษายน 2560 ที่ผ่านมา ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจ ธุรกิจและเศรษฐกิจฐานราก ธนาคารออมสิน ได้ประมาณการอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจไทยในปี 2560 ว่าอยู่ที่ร้อยละ 3.5 ต่อปีนายชาติชาย พยุหนาวีชัย ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน เปิดเผยว่า ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจ ธุรกิจ และเศรษฐกิจฐานรากธนาคารออมสิน ได้คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2560 จะขยายตัวอยู่ที่ระดับร้อยละ 3.5  โดยศูนย์วิจัยเศรษฐกิจ ธุรกิจ และเศรษฐกิจฐานรากธนาคารออมสิน ประเมินว่าปัจจัยที่จะช่วยสนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจในปี 2560 ประกอบด้วย การดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายที่มีส่วนช่วยสนับสนุนให้เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวได้ดี จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง การใช้จ่ายและการลงทุนของภาครัฐที่ยังคงขยายตัวจากการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมซึ่งเป็นกำลังหลักในการกระตุ้นเศรษฐกิจ ราคาสินค้าโภคภัณฑ์เริ่มฟื้นตัวตามราคาน้ำมันดิบที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากการบรรลุข้อตกลงความร่วมมือลดกำลังการผลิตทั้งในและนอกกลุ่มโอเปก ประกอบกับภาคการส่งออกเริ่มมีแนวโน้มฟื้นตัวดีขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าสำหรับปัจจัยเสี่ยงต่อเศรษฐกิจไทยในปี 2560 ได้แก่ สัดส่วนหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูงมีผลทำให้อำนาจซื้อลดต่ำลง ผลกระทบต่อเศรษฐกิจการเงินและการค้าระหว่างประเทศจากนโยบายของประธานาธิบดีสหรัฐฯ การดำเนินนโยบายการเงินที่แตกต่างกันของประเทศคู่ค้า จากทิศทางอัตราดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐฯ (FED) มีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะที่สหภาพยุโรปและญี่ปุ่นยังคงมาตรการผ่อนคลายทางการเงิน (QE) เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจโดยยังคงอัดฉีดเม็ดเงินเข้าสู่ระบบและคงอัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำต่อไป รวมทั้งผลกระทบจากกระบวนการ Hard Brexit ส่งผลให้การลงทุนภาคเอกชนทั้งในและจากต่างประเทศ (FDI) ยังคงมีความไม่แน่นอนสูง ด้วยเหตุนี้ ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจ ธุรกิจและเศรษฐกิจฐานราก ธนาคารออมสิน...
business highlight online : 14 เมษายน 2560 เศรษฐกิจของประเทศลาวถูกคาดหมายว่าจะเติบโตรวดเร็วกว่าหลายประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชียหรือ ADB (Asian Development Bank) คาดการณ์ว่า เศรษฐกิจลาวจะขยายตัวในอัตรา 6.9 เปอร์เซ็นต์ในปีนี้ และเร่งเครื่องเป็นร้อยละ 7 ปีหน้าผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารจัดการสาธารณะของธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย Rattanatay Luanglathbandith กล่าวว่า "ปัจจัยหนุนเศรษฐกิจลาวมาจากอุตสาหกรรมผลิตไฟฟ้าพลังน้ำ เหมืองทองแดง เงินและทอง"ประเทศลาวมีความมุ่งหวังที่จะเป็นแหล่งผลิตพลังงานของภูมิภาค กล่าวคือต้องการเป็นเสมือน “แบตเตอรี่แห่งเอเชียอาคเนย์”ขณะนี้ลาวมีโครงการเขื่อนผลิตไฟฟ้าพลังน้ำ 10 แห่ง และมีอีกสามโครงการที่อยู่ในขั้นตอนเสนอรายละเอียด แม้ว่าจะมีเสียงคัดค้านจากนักอนุรักษ์ธรรมชาติที่เป็นห่วงความสมบูรณ์ของพันธุ์ปลาในแม่น้ำโขงลาวยังมีอุตสาหกรรมท่องเที่ยวที่นำรายได้กว่า 720 ล้านดอลลาร์เข้าประเทศ และทางการได้ลงทุนขยายสนามบินแห่งชาติ ในโครงการมูลค่า 61 ล้านดอลลาร์Rattanatay Luanglathbandith บอกว่า "การขยายตัวของภาคบริการในประเทศลาวกำลังเกิดขึ้น และเป็นแหล่งงานของคนวัยทำงานในประเทศ โดยอุตสาหกรรมที่เป็นกำลังสำคัญของภาคบริการคือ ท่องเที่ยว ร้านอาหาร และการให้บริการ IT เป็นต้น"ประเทศผู้ลงทุนรายใหญ่ที่สุดของลาว คือ จีน ซึ่งประเทศจีนมีเงินลงทุนในลาวรวมมูลค่า 6,700 ล้านดอลลาร์ ใน 760 โครงการ ตามมาด้วยไทย เวียดนาม และมาเลเซียตามลำดับศาสตราจารย์เกียรติคุณ Martin...
business highlight online : เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2560 นางอภิรดี ตันตราภรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า รัฐบาลได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาเศรษฐกิจชายแดนใต้ ทั้งด้านการค้า การลงทุนและการท่องเที่ยว เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่มีรายได้จากการประกอบอาชีพเพิ่มขึ้น โดยในส่วนของกระทรวงพาณิชย์พร้อมผลักดันสินค้าและบริการฮาลาลของไทยสู่ตลาดในกลุ่มประเทศมุสลิมและตลาดโลกโดยที่ประเทศไทยมีศักยภาพในการผลิตสินค้าฮาลาลและผลิตภัณฑ์ฮาลาลที่สำคัญเพื่อการส่งออกรายใหญ่ของโลก มีตลาดส่งออกทั้งในประเทศกลุ่มมุสลิม ได้แก่ ประเทศมาเลเซีย อินโดนีเซีย ประเทศแถบตะวันออกกลาง และประเทศที่ไม่ใช่มุสลิม แต่เป็นตลาดใหญ่สำหรับอาหารฮาลาล เช่น อินเดีย จีน สหภาพยุโรป เป็นต้น ซึ่งรวมกันแล้วทั่วโลกมีประชากรมุสลิมกว่า 2,000 ล้านคน หรือประมาณร้อยละ 25 ของประชากรโลก และประเทศไทยเป็นผู้ส่งออกสินค้าอาหารมุสลิมเป็นอันดับที่ 10 ของโลก มีมูลค่าการส่งออกกว่า 6,000 ล้านเหรียญสหรัฐ/ปี และมีโอกาสขยายตัวเพิ่มขึ้นทุกปีกระทรวงพาณิชย์เล็งเห็นถึงศักยภาพของจังหวัดภาคใต้ชายแดนในการผลิตสินค้าและบริการฮาลาล เนื่องจากมีชาวไทยมุสลิมอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก และเป็นแหล่งวัตถุดิบในการผลิต มีกลุ่มผู้ประกอบการที่มีความสามารถผลิตสินค้าที่มีคุณภาพ และมีความรู้ความเข้าใจในการรวบรวมวัตถุดิบ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการผลิตสินค้าฮาลาล จึงได้ผลักดัน “โครงการสินค้าฮาลาลของดีแดนใต้สู่ตลาดโลก” โดยกำหนดให้มีการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการในการบริหารจัดการและวางแผนธุรกิจฮาลาล และหาลู่ทางขยายตลาดสินค้าและบริการฮาลาลให้กับผู้ประกอบการที่มีศักยภาพในกลุ่มจังหวัดภาคใต้ชายแดน รวมทั้งพัฒนาคุณภาพ รูปแบบและบรรจุภัณฑ์สินค้าและบริการฮาลาลให้มีความหลากหลายไปสู่ตลาดบน มีการเชื่อมโยงกับตลาดเครือข่าย เช่น Outlet ห้างค้าปลีก ห้างสรรพสินค้า จัดให้มีการแสดงสินค้า...
business highlight online : เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2560 สมาคมเครื่องหมายการค้าระหว่างประเทศหรือ INTA (International Trademark Association) และหอการค้าระหว่างประเทศ ประเมินว่ามูลค่าทางเศรษฐกิจของการค้าของปลอมทั่วโลกมีสูงถึง 1.7 ล้านล้านดอลลาร์เมื่อสองปีก่อน และอาจเพิ่มขึ้นเป็น 2.3 ล้านล้านดอลลาร์อีก 5 ปีจากนี้ปัจจุบัน อุตสาหกรรมผลิตและขายของปลอม แพร่ขยายไปสู่สินค้าหลายชนิดตั้งแต่ของใช้อิเล็กทรอนิกส์ เสื้อผ้าไปจนถึงยา และสารเคมีต่างๆซึ่งปัญหาดังกล่าวกระทบต่ออาชีพของผู้ที่ผลิตสินค้ามีลิขสิทธิ์ถูกต้อง 5,400,000 คนผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า ธุรกิจผลิตและจำหน่ายของปลอมได้กลายเป็นธุรกิจข้ามชาติ หน่วยงาน Global Financial Integrity ระบุว่า อุตสาหกรรมของปลอมเป็นธุรกิจผิดกฎหมายขนาดใหญ่ที่สุด และอาจจะมีมูลค่ามากกว่าการค้ายาเสพติดสองเท่าที่สำคัญ อันตรายของสินค้าปลอมอาจเป็นภัยถึงชีวิตได้ เพราะเคยเกิดเหตุการณ์นมผงสำหรับทารกปลอมในเอเชียที่คร่าชีวิตเด็กมาแล้วหน่วยงานของสหประชาชาติด้านยาเสพติดและอาชญากรรม UNODC และองค์การศุลกากรโลก World Customs Organization ประเมินว่าร้อยละ 75 ของสินค้าปลอมทั่วโลกในปี ค.ศ.2010 มีแหล่งการผลิตในเอเชียตะวันออก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในจีนUNODC ระบุว่า จีนและอินเดียเป็นแหล่งผลิตยาปลอมรายใหญ่ที่สุดในโลก และจีนเป็นจุดส่งผลิตภัณฑ์ยาปลอมเกือบร้อยละ 60 ของสินค้าประเภทนี้ที่ถูกจับได้ทั่วโลกขณะนี้ทางการจีนกำลังเร่งปราบปรามสินค้าปลอมอย่างแข็งขันอย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่าฐานการผลิตสินค้าปลอมได้แพร่ไปยังประเทศอื่นในเอเชียแล้ว อย่างเช่นในเกาหลีเหนือ เมียนม่าร์ และเวียดนามในกัมพูชา ซึ่งเกิดปัญหาด้านสุขภาพจากยาปลอม...
11 เมษายน 2560 เว็บไซต์ voathai.com มีรายงานออกมาว่า  มะพร้าวที่คนไทยใช้เป็นส่วนประกอบของอาหารหลายชนิดกันมายาวนานได้กลายเป็นหนึ่งในกระแสนิยมล่าสุดของผู้บริโภคในสหรัฐฯ
business highlight online : 8 เมษายน 2560 นายธีรภัทร ประยูรสิทธิ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังออกสุ่มตรวจร้านค้าสินค้าเกษตร อาทิ ร้านค้าผัก ร้านค้าประมง และร้านค้าปศุสัตว์ พร้อมกับเจ้าหน้าที่ของกรมปศุสัตว์ กรมประมง และกรมวิชาการเกษตร ณ ตลาดยิ่งเจริญ เขตบางเขน ว่า ตามนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (พลเอกฉัตรชัย สาริกัลยะ) กำหนดให้ปี 2560 เป็นปีแห่งการยกระดับมาตรฐานสินค้าเกษตร สู่ความยั่งยืน ซึ่งได้เน้นย้ำให้ความสำคัญในการตรวจสอบความปลอดภัยสินค้าเกษตรอย่างเข้มข้น และเพื่อปกป้องสุขภาพของประชาชนในช่วงเทศกาลสงกรานต์ หน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมปศุสัตว์ กรมประมง และกรมวิชาการเกษตร ได้ปฏิบัติงานตรวจสอบสินค้าเกษตรในตลาดสดทั่วประเทศ ระหว่างวันที่ 1 - 7 เมษายน 2560 ด้วยการสุ่มเก็บตัวอย่างสินค้าปศุสัตว์ สินค้าประมง และสินค้าเกษตรด้านพืชให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กระทรวงเกษตรฯกำหนด ซึ่งจะช่วยสร้างความเชื่อมั่นในคุณภาพและมาตรฐานสินค้าเกษตรและปศุสัตว์อย่างแท้จริง"ในช่วง 7 วันที่ผ่านมา กระทรวงเกษตรฯได้บูรณาการหน่วยงานทำการสุ่มตรวจตลาดสดทั่วประเทศ สำหรับตลาดในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ได้ตรวจตลาดยิ่งเจริญเป็นแห่งที่ 8 โดยในภาพรวมการตรวจร้านจำหน่ายเนื้อสัตว์ได้ผ่านเกณฑ์และมีสุขอนามัยที่ดี ซึ่งปัจจุบันร้านค้าในตลาดสดได้ร่วมกันสร้างมาตรฐานการจัดจำหน่ายภายใต้โครงการ ปศุสัตว์ OK และหันมาใช้ตู้แช่เย็นเพื่อจัดเก็บผลิตภัณฑ์ก่อนจำหน่ายที่ช่วยคงคุณภาพสินค้าก่อนส่งถึงมือผู้บริโภคได้เป็นอย่างดี ส่วนการจำหน่ายสินค้าเกษตรอื่นๆก็เป็นไปตามมาตรฐาน ทั้งนี้...
business highlight online : วันนี้ (4 เมษายน 2560) นาง Christine Lagarde กรรมการผู้จัดการใหญ่ IMF กล่าวว่า ปัญหาวิกฤตด้านการเงินโลกเมื่อปี 2551 ยังตกค้างอยู่ และส่งผลให้เศรษฐกิจโลกไม่สามารถขยายตัวได้เต็มที่ขณะที่การเพิ่มผลิตผลด้านแรงงานก็มีปัญหาจากสามปัจจัยที่สำคัญ คือ ประชากรโลกที่มีอายุมากขึ้น การชะลอตัวของการค้าระหว่างประเทศ และผลกระทบที่เรื้อรังของวิกฤตด้านการเงินโลกเมื่อปี 2551นาง Christine Lagarde ยังแนะให้รัฐบาลของประเทศต่างๆ มีนโยบายอย่างชัดเจนและแข็งขัน เพื่อกระตุ้นการขยายตัวทางเศรษฐกิจของโลก เช่น การส่งเสริมนวัตกรรมอย่างไรก็ตาม นโยบายดังกล่าวจะประสบความสำเร็จได้ ก็ต่อเมื่อมีการขยายการลงทุนด้านการศึกษา การฝึกทักษะให้กับแรงงาน และการปรับปรุงระบบโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ (ข่าวจากเว็บไซต์ voathai.com)เศรษฐกิจต่างประเทศ : IMF แนะรัฐบาลประเทศต่างๆ เร่งลงทุนส่งเสริมนวัตกรรมbusiness highlight online : post 4 เมษายน 2560 เวลา 22.20 น.
business highlight online : วันนี้ (4 เมษายน 2560) ณ ธนาคารออมสินสำนักงานใหญ่ ถนนพหลโยธิน ได้มีพิธีแถลงข่าว “ธนาคารผู้สูงวัย” ซึ่งธนาคารออมสินได้เลือกผลิตภัณฑ์ทางการเงินและกิจกรรมต่อเนื่องสำหรับผู้สูงวัยโดยเฉพาะ อีกทั้งเพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุของประเทศไทยให้ยังคงสามารถดำเนินชีวิตโดยมีสถานะการเงินที่มีความมั่นคงในอนาคตที่จะมาถึงอีกไม่นานจากนี้ โดยมี นายชาติชาย พยุหนาวีชัย ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน เป็นประธานในพิธีแถลงข่าวนายชาติชาย เปิดเผยว่า นับจากปี 2548 ประเทศไทยก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงวัย โดยมีจำนวนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น ขณะที่ประชากรโดยรวมมีแนวโน้มลดลง ทั้งนี้รัฐบาลโดย ฯพณฯ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี มีนโยบายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีแผนรองรับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวและพร้อมที่จะช่วยกันดูแลผู้สูงวัย โดยธนาคารออมสินเล็งเห็นว่าผู้สูงอายุควรได้รับการดูแลเป็นพิเศษในด้านความมั่นคงทางการเงิน จึงได้พัฒนาผลิตภัณฑ์การเงินที่จะให้บริการสำหรับผู้สูงวัยในชื่อ “ธนาคารผู้สูงวัย” เพื่อให้ได้รับบริการที่เหมาะสมพร้อมการดูแลเป็นอย่างดี โดยพร้อมที่จะให้บริการแล้วตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไปสำหรับ “ธนาคารผู้สูงวัย” นี้ จะประกอบด้วย 1.บริการทางการเงินเพื่อรองรับการเข้าสู่สังคมผู้สูงวัย ได้แก่ เงินฝากเผื่อเรียกประชารัฐผู้สูงวัย รับฝากเฉพาะบุคคลธรรมดาอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป เปิดบัญชีขั้นต่ำ 100 บาท รับฝากสูงสุดรายละไม่เกิน 1 ล้านบาท เปิดได้คนละ 1 บัญชี อัตราดอกเบี้ย 1.00% ต่อปี (ดอกเบี้ยเพิ่ม...
business highlight online : วันนี้ (3 เมษายน 2560) ชาวพม่าเริ่มใช้สิทธิ์เลือกตั้งซ่อมในวันเสาร์ที่ผ่านมา หลังจากที่นั่งของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรว่างลงในหลายเขตสำหรับผู้ที่ได้รับเลือกเข้าร่วมคณะรัฐมนตรีการเลือกตั้งซ่อมใน 15 เขตครั้งนี้ ถือเป็นเครื่องทดสอบความนิยมของพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย หรือพรรค NLD ของ นางอองซาน ซูจี ที่ชนะการเลือกตั้งเมื่อสองปีก่อน และเข้าบริหารประเทศในเวลาต่อมาชัยชนะของพรรค NLD ได้แรงสนับสนุนจากความหวังที่ประชาชนต้องการเห็นความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ หลังจากที่พม่าอยู่ใต้การปกครองโดยทหารมายาวนาน​อ่อง ซอว์ บรรณาธิการหนังสือพิมพ์ Irrawddy ของพม่า ให้สัมภาษณ์กับวีโอเอว่า "ภาคธุรกิจต้องการเห็นการเติบโตทางเศรษฐกิจ และคนจำนวนหนึ่งยังผิดหวัง และไม่พอใจกับการที่นโยบายต่างๆ ดำเนินไปอย่างเชื่องช้า"การขยายตัวทางเศรษฐกิจของพม่าอยู่ที่ร้อยละ 6.5 เมื่อปีที่แล้ว ชะลอลงจากร้อยละ 7.3 ปีก่อนหน้านั้น และไม่สามารถทำได้ตามเป้าที่นักวิเคราะห์ต่างประเทศคาดไว้ที่ร้อยละ 8อย่างไรก็ตาม ธนาคารโลกระบุในรายงานเมื่อเดือนมกราคมว่า การขยายตัวของพม่าจะเร่งเครื่องขึ้นได้ในปีนี้นักวิเคราะห์กล่าวว่า สิ่งท้าทายทางเศรษฐกิจของพม่า ส่วนหนึ่งมาจากอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินที่ผันผวน และข้อจำกัดด้านโครงสร้างทางเศรษฐกิจ รวมถึงปัญหาการขาดความชัดเจนของนโยบายทางเศรษฐกิจนอกจากนี้เงินลงทุนต่างประเทศในพม่าลดลง ท่ามกลางการอ่อนกำลังลงของเศรษฐกิจจีนผู้สันทัดกรณีจากบริษัท Steve Vickers Associates ที่ฮ่องกง กล่าวว่า "อนาคตทางเศรษฐกิจของพม่ายังมีความไม่แน่นอนสูง และอาจมีการลุกฮือขึ้นต่อต้านรัฐบาลโดยประชาชน"ด้านรัฐมนตรีกระทรวงเศรษฐกิจและการวางแผนของพม่า เกียว วิน บอกไม่นานนี้ว่า "เศรษฐกิจของประเทศกำลังเดินมาในแนวทางที่ถูกต้อง โดยในปีหน้าและปีถัดไปเศรษฐกิจของประเทศจะดีดตัวขึ้นอย่างรุนแรง" (ข่าวจากเว็บไซต์...
business highlight online : วันนี้ (3 เมษายน 2560) พลโท สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ยินดีที่ได้รับทราบข้อมูลจากศูนย์วิจัยกสิกรไทยว่า หนี้ครัวเรือนของไทยลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 11 ปี โดยเมื่อปีที่แล้วสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ หรือจีดีพี ลดลงจากร้อยละ 81.2 ในปี 2558 เหลือร้อยละ 79.9 ซึ่งเกิดจากการขยายตัวของจีดีพีที่สูงกว่าหนี้ครัวเรือน“ท่านนายกฯ เน้นย้ำว่า การกู้เงินของพี่น้องประชาชนและการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงินอย่างระมัดระวัง มีส่วนทำให้หนี้ครัวเรือนของประเทศลดลง โดยเฉพาะสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ สินเชื่อบัตรเครดิต และสินเชื่อรายบุคคลที่ก่อนหน้านี้เป็นตัวก่อหนี้จำนวนมาก ดังนั้น จึงอยากให้ประชาชนรักษาวินัยในการใช้จ่ายอย่างเหมาะสม รู้จักทำบัญชีรายรับรายจ่าย สร้างรายได้จากอาชีพเสริมและออมเงิน เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาหนี้สินรุงรังในอนาคต”อย่างไรก็ตาม แม้หนี้ครัวเรือนต่อจีดีพีจะต่ำลง แต่ภาระหนี้สะสมยังคงอยู่ในระดับสูง ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อการบริโภคและกำลังซื้อภาคครัวเรือน รวมทั้งตัวเลขหนี้ครัวเรือนที่ออกมาเป็นหนี้สินที่อยู่ในระบบสถาบันการเงิน แต่ในความเป็นจริงหนี้ครัวเรือนบางส่วนโดยเฉพาะกลุ่มผู้มีรายได้น้อยอาจมีทั้งหนี้ในระบบและนอกระบบ“รัฐบาลจึงได้ออกมาตรการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบอย่างครบวงจร เพื่อลดภาระหนี้และช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยซึ่งมีหนี้ครัวเรือนมากกว่ากลุ่มอื่น เช่น เปิดลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ สนับสนุนสินเชื่อเพื่อการประกอบอาชีพ กองทุนการออมแห่งชาติ เป็นต้น รวมทั้งรักษาเสถียรภาพและกระตุ้นเศรษฐกิจไปพร้อมกัน”ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีระบุว่าหนี้สินที่เพิ่มขึ้น แม้จะเป็นปัญหาของครัวเรือน แต่ในที่สุดจะส่งผลต่อความเป็นอยู่ของประชาชน เกิดความเครียดและปัญหาอาชญากรรมตามมา รวมทั้งกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจของประเทศด้วย โดยสิ่งสำคัญที่สุดนอกเหนือจากการทำให้ตัวเลขหนี้ลดลงแล้ว...
Verified by ExactMetrics